Adobe Illustrator คือโปรแกรมออกแบบกราฟิก เน้นการวาดภาพหรือการออกแบบสัญลักษณ์ ทำงานด้วยระบบ vector ซึ่งภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์นี้จะมีความคมชัดอย่างมาก เนื่องจากเป็นการกำหนดรูปทรงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ มีตำแหน่งและสีที่แน่นอน ไม่ว่าจะขยายขนาดเท่าไหรภาพก็จะไม่แตก และยังคงความคมชัดได้เหมือนเดิม เหมาะกับงานออกแบบทั่วไปที่เน้นลายละเอียด ไปจนถึงป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่
หากอยากรู้จักกับ Adobe Illustrator ให้มากกว่านี้ กดตามไปอ่านต่อกันได้เลยคร้าบบบ ^^
โปรแกรม Adobe Illustrator ทำอะไรได้บ้าง
โปรแกรม Illustrator ช่วยให้เราสามารถสร้างผลงานโดยเริ่มจากหน้ากระดาษเปล่า เหมือนงานศิลปะ โดยใน Illustrator จะมีทั้งปากกา ดินสอ พู่กัน หัวแปรงหลายรูปแบบ และอุปกรณ์การวาดภาพอื่นๆ ทำให้เราสร้างผลงานได้อย่างหลากหลาย เช่น โบรชัวร์ นามบัตร หนังสือ งานออกแบบทางกราฟิก โลโก้ วาดการ์ตูน หรือแบนเนอร์เว็บไซต์
หน้าจอของโปรแกรม Illustrator จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. แถบเมนูคำสั่ง (Menu bar)
เป็นเมนูคำสั่งหลักของโปรแกรม Illustrator แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้
- File: หมวดคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เปิด-ปิดไฟล์ การ บันทึกไฟล์ การนำภาพเข้ามาใช้ (Place) ตลอดจนการออกจากโปรแกรม (Exit)
- Edit: หมวดคำสั่งที่จัดการแก้ไข เช่น Undo Cut Copy Paste Select รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติ ต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย เช่นการสร้างรูปแบบ (Define Pattern) การกำหนดค่าสี (Color Setting) เป็นต้น
- Type: หมวดคำสั่งที่ใช้จัดการตัวหนังสือ เช่น Fonts Paragraph เป็นต้น
- Select: หมวดคำสั่งที่ใช้ในการเลือกวัตถุ สามารถเลือกด้วยคุณสมบัติได้ เช่น เลือกวัตถุที่มี Fill และ Stroke แบบเดียวกัน กับวัตถุที่อยู่บน Layer เดียวกัน เป็นต้น
- Filter: หมวดคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพ โดยจะมีผลต่อรูปร่างของ Path
- Effect: หมวดคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพคล้าย Filter แต่จะไม่มีผลกับรูปร่างของ Path
- View: หมวดคำสั่งเกี่ยวกับการมองทุกสิ่งในงาน เช่น Zoom Show/Hide Ruler Bounding Box Outline Mode/Preview Mode เป็นต้น
- Window: หมวดคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ เช่น Palette Tool Box เป็นต้น
- Help: หมวดที่รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โปรแกรม
2. คอนโทรลพาเนล (Control Panel)
เป็นแถบตัวเลือกสำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถกำหนดค่าสี ขนาด ตำแหน่ง และคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุที่เลือกได้ง่ายขึ้น
3. กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ปรับแต่ง และแก้ไขภาพ
Selection tool เครื่องมือเลือกวัตถุ ประกอบไปด้วย
- Selection tool (ลูกศรสีดำ) ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น (กดคีย์ V)
- Direct-selection tool (ลูกศรสีขาว) ใช้เลือก points หรือ path ของวัตถุ (กดคีย์ A)
- Magic wand tool (คฑาวิเศษ) ใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน (กดคีย์ Y)
- Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์ Drag การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Q)
Create tool เครื่องมือสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรง และตัวหนังสือ
- Pen tool สร้างเส้น path อย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curved ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ P)
- Type tool ใช้พิมพ์ตัวหนังสือ ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือย่อยเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบและทำตัวอักษรวิ่งตามเส้น paths (กดคีย์ T)
- Line segment tool สำหรับลากเส้นตรง สามารถเลือกทำขดก้นหอย ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม (กดคีย์ \)
- Rectangle tool เอาไว้วาดรูปทรงสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีรูปทรงพื้นฐานอื่นๆอีก เช่น สามเหลี่ยม วงกลม รูปดาว แต่ที่พิเศษสุดคือ flare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare (กดคีย์ M)
- Paintbrush tool แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น path โดยการ drag เมาส์ลากอย่างอิสระ สามารถใช้ brush แบบพิเศษ (กดคีย์ B)
- Pencil tool จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข และทาให้งานดูดี+เร็วขึ้น (กดคีย์ N)
Transform tool เครื่องมือปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟคต่างๆด้วย
- Rotate tool ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา (กดคีย์ R)
- Reflect tool ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ O)
- Scale tool ปรับ ย่อ-ขยาย วัตถุ (กดคีย์ S)
- Shear tool ใช้เอียงวัตถุ
- Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ
- Width tool ใช้ในการปรับขนาดของเส้นได้ตามใจชอบ (กดคีย์ Shift+W)
- Warp tool ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Shift+R)
- Twirl tool ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กาหนด
- Pucker tool ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง
- Bloat tool ทำให้วัตถุแบออก
- Scallop tool ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก
- Crystallize tool ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก
- Wrinkle tool สร้างคลื่นให้วัตถุ
- Free transform tool ย่อ ขยาย หมุน เอียง วัตถุ โดยอิสระ (กดคีย์ E)
Paint color tool เครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี
- Mesh tool เครื่องมือสีที่ช่วยให้วัตถุให้ดูเป็นทรงนูนหรือลึกแบบ 3 มิติ โดยการสร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ U)
- Gradient tool เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ G)
- Eyedropper tool หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ I)
- Measure tool เครื่องมือวัดขนาด
- Blend tool เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ 3 ชนิด (กดคีย์ W)
Special tool เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกับ Symbol และ graph
- Symbol Sprayer tool ใช้จัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย (กดคีย์ Shift+S)
- Column Graph tool ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ
View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก
- Artboard tool ใช้เพิ่มพื้นที่สร้างชิ้นงาน (กดคีย์ Shift+O)
- Slice tool ใช้เกี่ยวกับการแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ ใช้ในงานเว็บ (กดคีย์ Shift+K)
- Hand tool ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทางานบนหน้าจอ (กดคีย์ H หรือ Spacebar เพื่อเรียกใช้เครื่องมือชั่วคราว)
- Zoom tool ใช้ขยายพื้นที่การทำงาน (กดคีย์ Z หรือ กดคีย์ Alt ค้างไว้ แล้ว scroll เมาส์ขึ้น-ลง เพื่อขยาย-ย่อ)
Fill and Stroke เครื่องมือกำหนดสีและเส้นขอบ
Fill และ Stroke นั้นจะทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ อย่างเช่น Eyedropper tool
- Fill color ใช้กำหนดสีภายในวัตถุ (กดคีย์ X)
- Stroke color ใช้กำหนดสีเส้นขอบให้กับวัตถุ (กดคีย์ X)
- Swap Fill and Stroke ใช้สลับระหว่างสีภายในกับสีเส้นขอบ (กดคีย์ Shift+X)
- Default Fill and Stroke ใช้คืนค่าสีเดิม (กดคีย์ D)
ตัวอย่างการใช้ Fill และ Stroke สามารถดูได้ในรูปประกอบด้านบน
4. พี้นที่การทำงาน (Artboard)
พื้นที่สีขาวเป็นบริเวณที่เราใช้วางวัตถุเพื่อสร้างชิ้นงาน ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้นที่เป็นพื้นสีเทา (Scratch area) เป็นบริเวณที่เราใช้เพื่อพักวัตถุเตรียมรอนำมาใช้งาน ในส่วนพื้นสีเทานี้จะไม่ถูกนับรวมเป็นชิ้นงาน
5. พาเนลควบคุมการทำงาน (Panel)
เป็นหน้าต่างย่อยที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือต่างๆ ให้เราเลือกปรับแต่งการใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ต้องเปิดหาแถบคำสั่ง เช่นในตัวอย่างจะเป็นในส่วนจัดการสีและเส้นและแถบเลเยอร์ หรือชั้นส่วนประกอบของชิ้นงานอยู่ด้านล่าง
ถึงตรงนี้หลายคนก็ได้รู้จักหน้าตาและเครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม Adobe Illustrator กันแล้ว ในครั้งต่อไปจะมีเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานอะไรมาให้ชมนั้น โปรดติดตามกันด้วยนะคร้าบบ ^^
อีกหนึ่งช่องทางที่สามารถติดตามพวกเรา >>> Facebook Fanpage : The sensei
Add a Comment
You must be logged in to post a comment